วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สรุปการเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 4 วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สรุปการเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 4 วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

        ให้ นศ. ไปลงโปรแกรม python download ใช้คู่กับโปรแกรม  FontLab และลงโปรแกรมที่สมควรใช้กับ Windows ต่างๆด้วย อาจารย์สอนวิธี  download โปรแกรม python ทำให้ นศ.ดูและอาจารย์ชี้แจงเรื่องการออกแบบฟอนต์กลุ่มครั้งที่แล้วว่า นศ.ยังออกแบบไม่มีดีไซด์พอต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์มากกว่านี้อาจารย์สอนวิธีการตกแต่ง เอกสาร แปลบทความที่ต้องส่ง และสอนวิธีการแปลบทความว่าต้องทำอย่างไร แล้วต้องส่งอย่างไรสอนการออกแบบตัวอักษรนำงานอารย์มาให้ นศ. ศึกษา อธิบายโดยละเอียดถึงการเขียนแบบตัวอักษรวิธีการเขียนงานอาจารย์ต้องทำอย่างไร สอการทำฟอนต์ในโปรแกรม Illustrator อย่างละเอียดและอาจารย์สอนเรื่องโครงสร้างฟอนต์ ให้เข้าไปดูตัวอย่างที่เว็บ http://typefacesdesign.blogspot.com/2011/12/cru-font-family.html  เพื่อดูการออกแบบฟอนต์

ตัวอย่าง สัดส่วนโครงสร้างมาตรฐาน

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ออกแบบฟ้อนต์ ชื่อกลุ่ม "Dee Font"

งานกลุ่มที่แก้ชื่อกลุ่มจาก  The Imagination Fo Design เป็น Dee Font


แก้ชื่อกลุ่มเป็น  Dee Font







ออกแบบฟ้อนต์ ชื่อกลุ่ม The Imagination Fo Design 

1.ออกแบบในสมุดกราฟใน ชม.











ทั้งแบบมีหัว และ ไม่มีหัว
และตามแบบที่เราต้องการ



วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สรุปการเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 3 วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

 สรุปการเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 3 วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ.  2556

    อาจารย์พูดคุยถึงเรื่องการสร้างแฟ้มงานใน ไดรฟ์ และการส่งงานใน ไดรฟ์ และอาจารย์ก็เช็คชื่อตรวจการแต่งกายความพร้อมในการเรียนแล้วอาจารย์ก็ดูว่าใครส่งงานไม่ส่งงานบ้าง และอาจารย์ก็สอนเรื่องการออกแบบ ฟอนต์ อธิบายโดยละเอียด แล้วยกตัวอย่างเพื่อนๆที่ออกแบบ ฟอนต์ มาพอใช้ได้ถูกต้องและตรวจสอบข้อบกพร่องของ นศ.  การทำฟอนต์ต้องเข้าใจว่าฟอนต์รูปแบบหน้าตาเป็นอย่างไร 

งานที่ได้รับมอบหมาย

- แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน
- ตั้งชื่อกลุ่ม
- สร้าง  Bloger  กลุ่ม
- ช่วยกันออกแบบ ฟอนต์ ของชื่อกลุ่มลง กระดาษกราฟแล้วใช้โปรแกรม Illustrator ในการทำ
- ช่วยกันคิดโลโก้กลุ่ม

สมาชิกในกลุ่ม ชื่อกลุ่ม  The imgination of Design จินตนาการแห่งดีไซน์

น.ส เนธิญา ประทุมนันท์ 5511302852
น.ส สุภาวดี เยียมสุมทร 5511302704
 น.ส สุปราณี โพธิ์ศรี        5511300146
 น.ส นพวรรณ แสงชาติ    5511302589
 น.ส จินตนา สิงเรือง        5511300336

ออกแบบฟอนต์ "ก ชวนอวด อักษรไทย ให้ปรากฏจริง Hamburgefonstiv"

ได้รับการบ้านเมื่อ วันอังคารที่ 12  พฤศจิกายน พ.ศ.  2556


โดยการออกแบบตัวอักษร size A3 โดยใช้ข้อความ 
 " ก ชวนอวด อักษรไทย ให้ปรากฏจริง Hamburgefonstiv "

โดยการใช้โปรแกรม Illustrator



นี้เป็นครั้งแรกที่ดิฉันได้ออกแบบตัวอักษรอย่างจริงจัง ดิฉันจึงเริ่มออกแบบด้วยการใช้ดินสอล่างแบบในสมุคกราฟก่อน แล้วจึงมาลงมือทำในโปรแกรม Illustrator


แบบที่ออกมาอาจไม่ตรงกับที่ดิฉันทำจริงบ้างเพราะตอนทำจริงดิฉันดัดแปลงบ้างเล็กน้อยค่ะ

วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สรุปการเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 2 วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สรุปการเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 2 วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

อาจารย์พูดคุยเรื่องการทำแบบสำรวจแล้วอาจารย์ก็สรุปเรื่องการกรอกแบบสำราจที่ นศ.กรอกและยังแนะนำเนื่อหาต่างๆของการใช้งาน ซอฟแวร์ (Software) โปรแกรมต่างๆที่จำเป็นของการเรียนและศึกษาการใช้เว็บ Bloger อย่างถูกต้อง สอนการตกแต่งเว็บ Bloger ต่างๆ ใส่รูปภาพ การเข้าชม แล้วอีกต่างๆมากมายที่จำเป็นต่อ นศ. แต่อีกอย่างที่สำคัญคือ การศึกษาด้วยตนเอง เรียนรู้ด้วยตนเองและอาจารย์ ลองเช็คตรวจที่มอบหมายให้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แล้วชี้แนะข้อบกพร่องของ นศ. และอาจารย์มอบหมายงาน ออกแบบตัวอักษรไซส์ A3 ด้วยโปรแกรม Illustrator และปรินท์ลงกระดาษ ขนาด A4 โดยต้องเขียนดังนี้  ก ชวนอวดไทยให้ปรากฏจริง Hamburgefonstiv โดยอาทิตย์หน้าให้  สมุดกราฟ และ ดินสอ 2B มาด้วย

ตัวอย่าง ฟอนต์  (Font)


- สมัครเรียนใน E-Learning แล้วสอบ pre-test ในรายวิชา ARTD2304 และบอกผลการสอบให้อาจารย์ 

ขอขอบคุณ 
อาจารย์ประชิด ทิณบุตร อาจารย์ผู้สอน และ เว็บบล็อคของรุ่นพี่ ปี4 http://ploynapatarti3314.blogspot.com/p/font-tface2.html ที่ทำให้ ดิฉันได้เรียนรู้ การทำฟอนต์ และได้นำรูป ฟอนต์ มาเป็นตัวอย่างในเว็บบล็อคของดิฉัน

แหล่งที่มา :
- รูป http://ploynapatarti3314.blogspot.com/p/font-tface2.html
                


วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บทความและความหมายของ ฟอนต์

บทความของคำว่า ฟอนต์ (ภาษาไทย) (วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556)

Font คืออะไร

           Font เป็นกลุ่มของตัวอักษรข้อมูลที่พิมพ์ได้ หรือแสดงผลได้ที่กำหนดแบบและขนาด ประเภทการออกแบบสำหรับชุด font คือ typeface และการแปรผันของการออกเพื่อสร้างเป็น typeface family เช่น Helvetica เป็น typeface family, Helvetica italic เป็น typeface และ Helvetica italic 10-piont คือ font ในทางปฏิบัติ font และ typeface ใช้โดยไม่เน้นความแม่นยำ outline font เป็น ซอฟต์แวร์ typeface ที่สามารถสร้างช่วงขนาดของฟอนต์ bitmap font เป็นการนำเสนอแบบดิจิตอลของฟอนต์ที่มีขนาดตายตัว หรือจำกัดกลุ่มของขนาด ซอฟต์แวร์ outline font ที่นิยมมาก 2 โปรแกรมปัจจุบัน คือ true type และ adobe's type 1โดยฟอนต์ true type มากับระบบการ Windows และ Macintosh ส่วน type 1 เป็นมาตรฐาน outline font (ISO 9541) ทั้งฟอนต์ true type และ type 1 สามารถใช้กับเครื่องพิมพ์ adobe's postscript (ถึงแม้ว่า) adobe พูดว่าฟอนต์ type 1 สามารถใช้ได้เต็มที่กับภาษา post script


ที่มา : widebase.net
แหล่งอ้างอิง
http://www.com5dow.com/%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B9%8C-it/995-font-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html

                     


คำว่า “Typeface” และคำว่า “Font” หลายๆ คนมักใช้ผิดๆ ถูกๆ อยู่ครับ แม้แต่บทความหรือตามเว็บไซต์ดังๆ ก็ยังพบว่ามีการใช้ 2 คำนี้แบบผิดๆ อยู่ บทความนี้จะอธิบายความหมายและความแตกต่างของ 2 คำนี้ รวมไปถึงที่มา ลองมาดูซิว่าคุณใช้ 2 คำนี้ถูกหรือเปล่า?

Typeface vs Font

Typeface คือแบบของตัวอักษร ที่ออกแบบหรือคิดค้นขึ้นมาโดย “นักออกแบบตัวอักษร” นั่นเองครับ ซึ่งในแต่ละ typeface จะมี shape ที่แตกต่างกันออกไป ส่วน Font นั้นเป็นเพียง “รูปแบบ” หรือ “ลักษณะ” หนึ่ง ของ typeface ครับ ตัวอย่างเช่น “Helvetica Bold Condensed Italic” เป็นคนละ font กับ “Helvetica Condensed Italic” และ “Helvetica Bold Condensed” แต่ทั้ง 3 fonts นั้น ถือว่าอยู่ใน typeface เดียวกัน ซึ่งก็คือ “Helvetica”
พูด ง่ายๆ ก็คือ typeface หมายถึง กลุ่มของ fonts ต่างๆ ที่มี design เหมือนกัน แต่ต่างกันในแง่ของ “ความหนา(font-weight)”, “ความกว้าง(font-stretch)” และ “ความเอียง(font-style)” นั่นเองครับ

ที่มาของคำว่า “Font”

หลายๆ คนอาจสงสัยว่าทำไมถึงเป็นเช่นนี้ บางคนอาจเข้าใจมาตลอดว่า font คือ แบบของตัวอักษร(Typeface) ถ้าอยากหายสงสัยต้องไปศึกษาที่มาของมันครับ “font” มาจากคำว่า “fount” ซึ่งแปลว่า “สิ่งที่ถูกหลอม” ในสมัยก่อน การจะพิมพ์ตัวหนังสือลงไปบนอะไรสักอย่างจะต้องใช้ “ตัวพิมพ์” ซึ่งมักจะสร้างมาจากโลหะที่เอามาหลอมลงในแม่พิมพ์ ซึ่งหมายความว่า หากเราอยากได้ตัวหนา ตัวกว้าง ตัวเอียง หรือแม้แต่ตัวขนาดใหญ่ขึ้น เราจำเป็นจะต้องสร้าง “ตัวพิมพ์” ขึ้นมาใหม่ เพื่อมารองรับตัวอักษรแบบนั้นๆ โดยเฉพาะ และนี่เอง ที่ทำให้เราเรียก “รูปแบบ” ของตัวอักษรที่แตกต่างกันว่า “font” แต่ในปัจจุบัน ซึ่งเปลี่ยนจากยุคของโลหะมาเป็นยุค digital ทำให้ขนาดของตัวอักษรนั้นสามารถเพิ่มหรือลดได้โดยง่าย นิยามของคำว่า “font” จึงเปลี่ยนไปเล็กน้อย เหลือแค่ความต่างกันในด้านของ ความหนา ความกว้าง และ ความเอียง เท่านั้น


fount
Font หรือ “Fount” ในสมัยก่อนทำมาจากโลหะหรือไม้

รู้จักกับ Glyph ใน Typeface

ขึ้น ชื่อว่าเป็น typeface จะต้องมี “Glyph” ครับ เพราะมันก็คือ “อักขระ” ที่ใช้แทน ตัวอักษร ตัวเลข เครื่องหมาย รวมไปถึงสัญลักษณ์ต่างๆ นั่นเอง บาง typeface อาจรองรับหลายภาษาด้วยกัน จึงทำให้มี glyph อยู่เป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้เอง จึงมีกระบวนการ “Subsetting” เกิดขึ้นมา ซึ่งก็คือการตัด glyph ที่เราไม่ต้องการออก เพื่อลดขนาดของ font file ให้เล็กลงนั่นเอง

Typeface แบบ Serif กับ Sans-Serif ต่างกันอย่างไร?

เชื่อ ว่าหลายๆ คน คงเคยได้ยินคำว่า “Serif” กันมาตั้งแต่เริ่มใช้คอมพิวเตอร์ แต่คงมีคนจำนวนไม่น้อย ที่ยังไม่รู้ความหมายของมัน คำว่า “Serif” ก็คือ “การเล่นหาง” นั่นเองครับ typeface ใดก็ตามที่เป็นแบบ serif ก็หมายความว่า ทุกๆ glyph จะมีการตวัดหาง ไม่ได้จบแบบห้วนๆ ซึ่งจะตรงกันข้ามกับ typeface แบบ “Sans-serif” ที่จะไม่มีการเล่นหางใดๆ ทั้งสิ้น (คำว่า “sans” มาจากภาษาฝรั่งเศส ซึ่งแปลว่า “ไม่มี”)
จากการสำรวจ พบว่า typeface แบบ serif นั้นจะอ่านได้ง่ายกว่าหากใช้กับข้อความยาวๆ ซึ่งนี้เอง เป็นสาเหตุที่สื่อสิ่งพิมพ์นิยมใช้ typeface แบบนี้ อย่างไรก็ตาม การใช้ typeface แบบ sans-serif กลับได้รับความนิยมมากกว่าบนเว็บไซต์ เนื่องจากการเล่นหางของ serif นั้น อาจทำให้อ่านได้ยากขึ้น หากดูด้วยหน้าจอที่มีความละเอียดไม่สูงนัก


serif vs san-serif typeface

รู้จักกับ Typeface แบบ Proportional และ Monospaced

typeface แบบ “Proportional” จะมีความกว้างของ glyph ที่แตกต่างกันออกไป เช่น glyph ที่ใช้แทนตัว “i” กับ “w” จะมีความกว้างไม่เท่ากัน ตรงข้ามกับ typeface แบบ “Monospaced” ซึ่งแต่ละ glyph จะมีความกว้างเท่ากันเสมอ
โดย ทั่วไปแล้ว typeface แบบ proportional นั้นจะดูสวยงาม และอ่านง่ายกว่า ซึ่งเรามักจะพบเห็น typeface แบบนี้ได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ เว็บไซต์ รวมไปถึง GUI ของ application ต่างๆ
แต่ typeface แบบ monospaced ก็ใช่ว่าจะไม่มีข้อดีเลย ด้วยลักษณะที่ทุกๆ glyph มีความกว้างเท่ากันหมด จึงนิยมนำ typeface แบบนี้มาใช้กับ เครื่องพิมพ์ดีด, หน้าจอที่แสดงผลได้เฉพาะตัวอักษร(เช่น นาฬิกาดิจิตอล) รวมไปถึง หน้าจอ Terminal เป็นต้น


proportional vs monospaced typeface

แล้วทำไมต้องมี Font ?

สาเหตุ ที่ใน typeface เดียวกัน ต้องแบ่งออกเป็น fonts ต่างๆ ก็เพื่อ “Readability” นั่นเองครับ ในหน้าเดียวกัน เราอาจใช้ typeface เพียงแบบเดียว แต่อาจเลือกใช้ fonts หลายแบบ เพื่อให้เหมาะกับเนื้อหาในแต่ละส่วน ไม่ว่าจะเป็น header, article, aside, footer เป็นต้น
fonts แต่ละแบบจะแตกต่างกันในเรื่องของ ความหนา ความกว้าง และความเอียง ซึ่งถ้าทั้ง 3 รูปแบบนี้ เป็นค่าปกติทั้งหมด เราจะเรียก font นั้นว่า “Roman” หรือ “Regular” ส่วน font ที่ไม่ใช่ Roman จะเกิดได้ 2 กรณีด้วยกันคือ รูปแบบเหล่านั้น ถูกใส่เข้ามาใน font file(เช่น font “Helvetica Condensed Bold Italic”) หรือ รูปแบบนั้น ถูก render ด้วย “Algorithm” ของ web browser(เช่น font “Helvetica” + font-weight:bold)
ตาม specification ของ CSS3 หากรูปแบบที่เรากำหนดนั้น มีอยู่ใน font file แล้ว web browser จะใช้ font นั้นในการแสดงผลทันที แต่ถ้าไม่พบ web browser จะ “สังเคราะห์” font นั้นๆ ขึ้นมาจาก Roman หรือ Regular ของ typeface นั้นๆ ซึ่ง font ที่ได้ อาจไม่สวยงามเท่า เพราะสร้างมาจากการคำนวณ ตัวอย่างเช่น เราต้องการแสดงผล typeface “Helvetica” แบบตัวหนา ถ้าเรามี font “Helvetica Bold” ตัวอักษรที่แสดงผลจะสวยงาม สมบูรณ์แบบ แต่ถ้าเราไม่มี แล้วเราใช้ font “Helvetica” แทน web browser จะ render โดยการเพิ่ม outline ให้หนาขึ้น เพื่อให้ตัวอักษรที่ออกมาดูหนาขึ้นนั่นเองครับ


font synthesis comparison
ถ้าสังเกตุดีๆ จะเห็นว่า font แท้ๆ จะคมชัดกว่า font ที่สังเคราะห์ขึ้นด้วย algorithm

บทสรุปของ Typeface vs Font

Typeface คือแบบอักษรที่ Designer ได้ออกแบบขึ้นมา ส่วน Font คือ Typeface ที่มีความต่างกันในเรื่องของความหนา ความกว้าง และความเอียง


แหล่งอ้างอิง : 

http://www.siamhtml.com/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87-typeface-vs-font-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/

                         

บทความของคำว่า ฟอนต์ (ภาษาอังกฤษ)

FONT :
This article is about the traditional meaning of "font". For the electronic data file, see Computer font. For other uses, see Font (disambiguation).

In traditional typography, a font is a particular size, weight and style of a typeface. Each font was a matched set of metal type, one piece (called a "sort") for each glyph, and a typeface comprised a range of fonts that shared an overall design.

In modern usage, with the advent of digital typography, "font" is frequently synonymous with "typeface". In particular, the use of "vector" or "outline" fonts means that different sizes of a typeface can be dynamically generated from one design. Each style may still be in a separate "font file"—for instance, the typeface "Bulmer" may include the fonts "Bulmer roman", "Bulmer italic", "Bulmer bold" and "Bulmer extended"—but the term "font" might be applied either to one of these alone or to the whole typeface.

ที่มา

- Blackwell, Lewis. 20th Century Type. Yale University Press: 2004. ISBN 0-300-10073-6.
- Fiedl, Frederich, Nicholas Ott and Bernard Stein. Typography: An Encyclopedic Survey of Type Design and Techniques Through History. Black Dog & Leventhal: 1998. ISBN 1-57912-023-7.
- Lupton, Ellen. Thinking with Type: A Critical Guide for Designers, Writers, Editors, & Students, Princeton Architectural Press: 2004. ISBN 1-56898-448-0.
- Headley, Gwyn. The Encyclopaedia of Fonts. Cassell Illustrated: 2005. ISBN 1-84403-206-X.
- Macmillan, Neil. An A–Z of Type Designers. Yale University Press: 2006. ISBN 0-300-11151-7

แหล่งอ้างอิงhttp://en.wikipedia.org/wiki/Font


                        

แปลความหมายของคำว่า ฟอนต์ (ภาษาไทย)


บทความนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับความหมายดั้งเดิมของ "ตัวอักษร" สำหรับไฟล์ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ดูที่ตัวอักษรคอมพิวเตอร์ สำหรับความหมายอื่นดูได้จากแบบอักษร (disambiguation)

ในการพิมพ์แบบดั้งเดิมตัวอักษรมีขนาดน้ำหนักโดยเฉพาะอย่างยิ่งและรูปแบบของตัวอักษร แต่ละตัวอักษรเป็นชุดที่ตรงกับประเภทโลหะชิ้นเดียว (เรียกว่าเรียง "") สำหรับแต่ละ glyph และอักษรประกอบด้วยช่วงของแบบอักษรที่ใช้ร่วมกันออกแบบโดยรวม

ในปัจจุบันการใช้กับการถือกำเนิดของการพิมพ์ดิจิตอลที่ "ตัวอักษร" มักตรงกันกับ "ตัวอักษร" โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ "เวกเตอร์" หรือแบบอักษร "ร่าง" หมายความว่าขนาดแตกต่างกันของตัวอักษรที่สามารถสร้างแบบไดนามิกจากการออกแบบ แต่ละรูปแบบก็ยังอาจจะอยู่ในแยกไฟล์ "ตัวอักษร" ตัวอย่างเช่นตัวอักษร "บัลเมอร์" อาจรวมถึงอักษร "บัลเมอร์โรมัน", "ตัวเอียงบัลเมอร์", "บัลเมอร์ที่เป็นตัวหนา" และ "บัลเมอร์ขยาย" แต่ตัวอักษร "ระยะ "อาจจะนำมาประยุกต์ใช้อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวเหล่านี้หรืออักษรทั้ง


ที่มา :
 - แบล็กเวลูอิส ประเภทศตวรรษที่ 20 สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเยล: 2004 ISBN 0-300-10073-6
 - Fiedl, Frederich, นิโคลัสเฮเว่นและเบอร์นาร์สไตน์ Typography: สารานุกรมการสำรวจของการออกแบบประเภทและเทคนิคผ่านทางประวัติศาสตร์ Black Dog & Leventhal: 1998 ไอ 1-57912-023-7
 - Lupton เอลเลน การคิดด้วยประเภท: คู่มือสำคัญสำหรับนักออกแบบนักเขียนบรรณาธิการและนักศึกษาพรินซ์ตันกดสถาปัตยกรรม: 2004 ไอ 1-56898-448-0
 - เฮดลีย์, กวิน สารานุกรมแบบอักษร คาเซลปอ: 2005 ไอ 1-84403-206-X
 - มักมิลลันนีล-Z นักออกแบบประเภท สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเยล: 2006 ISBN 0-300-11151-7

แหล่งอ้างอิงhttp://en.wikipedia.org/wiki/Font

                    

วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สรุปการเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 1 วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556


สรุปการเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 1 วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

- ให้ นศ. สมัคร G mail เพื่อรับข่าวสารต่างหรือรับข้อมูลเรื่องงานจาก อาจารย์ และเข้าไปที่เว็บ blogspot.com และศึกษา การเรียนการสอน และดูการสั่งการบ้านจาก Typefacesdesing.blogspot.com

- แจ้งชื่อ แจ้งบล๊อก โดยใช้ชื่อจริง

- แล้วก็ต้องสมัคร E-Learning เพราะเราต้องเข้าไปทำข้อสอบออนไลน์

- ทำแบบสำรวจ



เข้าไปในเว็บ Typefacesdesing.blogspot.com โดยให้นักศึกษาด้วยตนเองและทำการบ้าน
โดยให้ใส่ E-mail ของตัวเองและทำแบบสอบถาม

กิจกรรมการเรียนการสอนเปิดเทอมวันแรก 2/2556 วิชาการออกแบบตัวอักษรเพื่อการพิมพ์





ยินดีต้อนรับนักศึกษาทุกคน เข้าสู่เว็บบล็อกสนับสนุนการเรียนรู้แบบออนไลน์

กิจกรรมการเรียนการสอนเปิดเทอมวันแรก 2/2556 วิชาการออกแบบตัวอักษรเพื่อการพิมพ์

กลุ่มเรียน ภาคปกติ กลุ่ม 101, 102 และภาคนอกเวลา กลุ่ม 201 เรียนวันอังคาร ห้องกราฟิก2 อาคาร 32 ห้อง 32-505 ผู้สอน ผศ.ประชิด ทิณบุตร

กิจกรรมที่ต้องทำให้แล้วเสร็จภายใน 12 พ.ย.นี้ ได้แก่

1.คลิกเข้าร่วมเว็บไซต์นี้เพื่อรับทราบข่าวสารจากผู้สอน โดยคลิกเข้าร่วมเว็บไซต์นี้จากเมนูด้านข้างและเข้าอ่านเอกสาร มคอ.3 อาทิคำอธิบายรายวิชา เนื้อหากิจกรรม ระเบียบการประเมินผล วิธีการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ มคอ.3 จากเมนู มคอ ด้านบน

2.กรอกข้อมูลส่วนตัวเช่นอีเมลของ gmail.com เท่านั้น แจ้งเบอร์โทรศัพท์ส่วนตัว ในแบบบันทึกกิจกรรมการเรียนการสอน คลิกเข้าทำที่นี่ ตามกลุ่มเรียนและรายชื่อ

3.เข้าตอบแบบสอบถามฉบับที่ 1.แบบสำรวจศักยภาพและความพึงพอใจของผู้เรียน ก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาการออกแบบตัวอักษรเพื่อการพิมพ์ ตามเกณฑ์มาตรฐานผลการเรียนรู้หลักสูตรสาขาวิชาศิลปกรรม มจษ. ภาคเรียนที่2/2556